Monday, December 3, 2012

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ สารภี

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารภี


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mammea siamensis  Kosterm.
ชื่อพ้อง :  Ochrocarpus siamensis T.Anders

วงศ์ :   GUTTIFERAE

ชื่ออื่น :   สร้อยภี (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไข่ปลายมนกว้าง บางทีปลายใบเว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็นรูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ :  ดอก ผลสุก

สรรพคุณ :

    ดอกสดและแห้ง -  ใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

    ดอกตูม - ย้อมผ้าไหม ให้สีแดง

    ผลสุก -  รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ มะลิลา

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

มะลิลา



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Jasminum Sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ :  Arabian jasmine

วงศ์ :   OLEACEAE

ชื่ออื่น :  มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่

สรรพคุณ :

    ใบ, ราก -  ทำยาหยอดตา

    ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ

    ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน

    ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม

วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
สารเคมี :

    ดอก  พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester

    ใบ  พบ  jasminin sambacin

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ พิกุล

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

พิกุล




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimusops elengi  L.

ชื่อสามัญ :    Bullet wood

วงศ์ :    SAPOTACEAE

ชื่ออื่น :   พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
ส่วนที่ใช้ :  ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ

สรรพคุณ :
    ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย

    ดอกแห้ง -  เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ

    ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก

    เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด

    เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก

    ใบ - ฆ่าพยาธิ

    แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม

    กระพี้ -  แก้เกลื้อน

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ พยอม

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

พยอม




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Shorea roxburghii  G.Don

ชื่อสามัญ :   White Meranti

วงศ์ :   DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น :  กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น

สรรพคุณ :

    ดอก  -  ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ

    เปลือกต้น - สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin มาก

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ บุนนาค

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

บุนนาค




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mesua ferrea  L.

ชื่อสามัญ :    Iron wood, Indian rose chestnut

วงศ์ :   GUTTIFERAE

ชื่ออื่น :  ก๊าก่อ ก้ำก่อ นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบหนา รูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุม ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ออกดอกระหว่างช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน ผล รูปไข่ ส่วนปลายโค้งแหลม โดยยังมีส่วนกลีบรองดอกขยายใหญ่ขึ้นติดอยู่ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ดอกสดและแห้ง ผล ใบ แก่น ราก เปลือก กระพี้

สรรพคุณ :

    ดอก - กลั่นให้น้ำมันหอมระเหย ใช้ในการอบเครื่องหอมได้ดี ใช้แต่งกลิ่นสบู่

    ดอกแห้ง -  ใช้เข้ายาหอม แต่งกลิ่นแต่งรสทำให้รับประทานง่าย เป็นยาหอมบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ เป็นยาขับเสมหะบำรุงโลหิต แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้ลมกองละเอียด ซึ่งทำให้หน้ามืดวิงเวียนใจสั่น อ่อนเพลีย หัวใจหวิว ทำให้ชูกำลัง

    ผล - ขับเหงื่อ ฝาดสมาน

    ใบ - รักษาบาดแผลสด พอกบาดแผลสด แก้พิษงู

    แก่น - แก้เลือดออกตามไรฟัน

    ราก - ขับลมในลำไส้

    เปลือก - ฟอกน้ำเหลือง กระจายหนอง

    กระพี้ - แก้เสมหะในคอ

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ บัวหลวง

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

บัวหลวง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Nelumbo nucifera Gaertn.

ชื่อสามัญ :   Lotus

วงศ์ :   Nelumbonaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก

สรรพคุณ :

    ดีบัว  -  มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย

    ดอก, เกษรตัวผู้ - ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ

    เหง้าและเมล็ด - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง

    เมล็ดอ่อนและแก่ - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี

    เหง้าบัวหลวง - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน

    ไส้ของของเมล็ด - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ

    ยางจากก้านใบและก้านดอก - แก้ท้องเดิน

    ราก - แก้เสมหะ

สารเคมี :

    ดอก  มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine

    embryo  มี lotusine

    เมล็ด  มี alkaloids และ beta-sitosterol

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ บัวบก

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

บัวบก



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Centella asiatica  Urban

ชื่อสามัญ :   Asiatic Pennywort, Tiger Herbal

วงศ์ :   Umbelliferae

ชื่ออื่น :   ผักแว่น ผักหนอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

สรรพคุณ :

    ใบ  -   มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

    ทั้งต้นสด
    -  เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
    -  รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
    -  ปวดศีรษะข้างเดียว
    -  ขับปัสสาวะ
    -  แก้เจ็บคอ
    -  เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
    -  ลดความดัน แก้ช้ำใน

    เมล็ด
    -  แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
    ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

    เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
    ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

    ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

    เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
    ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

    เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
    ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

สารเคมี :  สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ เตยหอม

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

เตยหอม


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.

ชื่อสามัญ :   Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

วงศ์ :    Pandanaceae

ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ :  ต้นและราก, ใบสด

สรรพคุณ :

    ต้นและราก
    -  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

    ใบสด
    -  ตำพอกโรคผิวหนัง
    -  รักษาโรคหืด
    -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
    -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
    ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

    ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

    ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
    ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กุหลาบมอญ

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

กุหลาบมอญ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Rosa damascena  Mill.

ชื่อสามัญ :   Rose, Damask rose

วงศ์ :   Rosaceae

ชื่ออื่น :  กุหลาบออน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อดอกสีชมพูหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง อยู่รวมเป็นกระจุก 3-5 ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้นเมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-7 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมากดอกดกและบานได้หลายวัน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ :  ดอกแห้ง และสด

สรรพคุณ :

    ดอกแห้ง
    -   เป็นยาระบายอ่อนๆ
    -  แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ

    ดอกสด
    -  กลั่นให้น้ำมันกุหลาบ แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง

วิธีใช้  - ใช้ดอกแห้งเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กระดังงาไทย

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

กระดังงาไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata

ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree

วงศ์ :   ANNONACEAE

ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน

สรรพคุณ :

    ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ

    ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ

วิธีใช้ :

    ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย

    การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate

Sunday, October 7, 2012

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน อัคคีทวาร


กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

อัคคีทวาร



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke

วงศ์ :   VERBENACEAE

ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก


สรรพคุณ :


          ทั้งต้น  - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง


 

      อัคคีทวารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrum serratum Moon. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE โดยอัคคีทวารจัดเป็นไม้พุ่ม ใบเรียว ปลายใบมนแหลม ขอบใบเป็นดอกออกเป็นช่อสีขาวสวยงามมาก จึงสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ ถ้าหากไม่คิดถึงชื่อที่ไม่ค่อยเป็นมงคลเท่าไรนัก นอกจากนี้อัคคีทวารยังสามารถนำส่วนต่างๆมาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่ปรากฏในตำราอายุรเวท ซึ่งประมาณว่ามนุษย์รู้จักใช้สมุนไพรชนิดนี้ ี้มาราวสามพันปีแล้ว อัคคีทวารเรียกชื่อเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ ภรางคิ (Bharangi)” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clerodendrum serratum (Linn.) อยู่ในวงศ์ Verbenacea สำหรับหมอยาพื้นบ้านอีสานก็รู้จักอัคคีทวารเป็นอย่างดีเช่นกัน คนแถวๆ จังหวัดสกลนคร เรียกว่า หมากดูกแฮ้ง ส่วนหมอยาพื้นบ้านแถบวาริชภูมิเรียกว่า “ พายสะเมา ” สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามโคกทั่วๆไปในพื้นดินที่ราบสูงของไทย ซึ่งคนอีสานจะนำช่อดอกมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุบหน่อไม้ หรือไม่ก็ปรุงเป็นหมกหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ทำสุกแล้วยังมีรสชาติเหมือนกินสดๆ แต่ถ้าไปแอ่วเหนือเดินชมงานพืชสวนโลกไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่ (เพราะยังไม่ได้ไปชม) ถ้าพบขอให้รู้ไวว่าคนเหนือเรียกว่า หลัวสามเกียน


 ถ้าใครอยากนำต้นนี้มาปลูก ก็รู้ไว้สักนิดว่าอัคคีทวารไม้พุ่มยืนต้น ขนาดเล็กสูง 2- 3 เมตร เปลือกลำต้น บางผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นตรงข้ามกันเป็นคู่แบบสลับ ใบเรียงรูปใบหอกกว้าง 4- 6 เซนติเมตร ยาว 15- 20 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดขอบใบหยักฟันเลื่อยด้วยลักษณะและความสวยงามของดอก ซึ่งนับได้ว่าอัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างดี และมีสรรพคุณทางยาอย่างดีด้วย

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่หมอยาทุกภาครู้จัก ใช้เป็นยาได้ทั้งรากและใบ ส่วนของ ราก มีรสขมเผ็ดร้อน นำมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาสุขภาพของเราได้หลายระบบในร่างกาย คือ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม รักษาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งในท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ริดสีดวงทวาร และการที่รากอัคคีทวารมีรสขมร้อน ทำให้อัคคีทวารมีสรรพคุณ ช่วยทำให้เสมหะแห้ง จึงช่วย ระบบทางเดินหายใจ ได้ดีด้วย เช่น แก้หอบหืด ไอ ริดสีดวงจมูก(อาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก) แพ้อากาศทั้งยังใช้ในการแก้ไข้ได้อีกด้วย
        การใช้รากเป็นยาจะใช้ทั้งการต้มกินหรือบดเป็นผง นอกจากนี้ยังใช้รากสดตำผสมกับขิงและลูกผักชีละลายน้ำรับประทานแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแห้งหรือลำต้นแห้งนิยมฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆเป็นยาเกลื้อนฝี หัวริดสีดวง ทางแผลบวมได้ดีอีกด้วย

        ส่วน ใบ ของอัคคีทวารมีฤทธิ์แก้อักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง วิธีใช้ เคี้ยวใบสดๆรับประทานเลย หรือนำใบของอัคคีทวารตากแห้ง บดเป็นผงรับประทานแก้ริดสีดวงทวาร
ก็ได้ และอาจใช้วิธีนำใบตากแห้งรมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบฝ่อหายได้ หรือสุมไฟรมแผลฝีก็ได้เช่นกัน และยังนำใบอัคคีทวารใช้ภายนอกรักษาโรคอื่นๆ เช่น ตำพอกรักษาโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน ดูดหนอง ใช้ตำพอกแก้ปวดขัดตามข้อ แก้ปวดหัวเรื้อรัง
        ใบ  ของอัคคีทวารยังมีสรรพคุณแก้จุกเสียดในท้องเช่นเดียวกับราก จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องอืดได้และยังใช้ใบสดโขลกเอาน้ำกินสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้ว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ
ด้วย ใบของอัคคีทวารยังนิยมต้มกับขิงกินแก้หลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ส่วน ลำต้น ของอัคคีทวาร
        นอกจากจะมีสรรพคุณคล้ายๆ ใบแล้ว ส่วนของเนื้อไม้มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ชาวบ้านจึงนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งต้มรับประทานขับปัสสาวะขับนิ่ว ลดความดัน แก้ปวดท้อง แก้ไข้ป่า

        ส่วน ผลสุกหรือดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆกลืนน้ำช่วยแก้คอเจ็บแก้ไออัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยงเช่น โค กระบือที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ก็นำอัคคีทวารกรอกให้สัตว์กิน เห็นได้ว่าอัคคีทวารมีประโยชน์ทางยามากมาย แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวารพบว่าอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮิสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ฆ่าเชื้อโรค ขับลม

        อัคคีทวาร ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว ทั้งๆที่เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย เป็นผัก เป็นยา เป็นไม้ประดับ และเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่ตัวหนึ่งที่หมอยาทุกภาคเคยใช้เป็นยา แต่พอมาถึงยุคยาฟรีไปโรงพยาบาลไม่ต้องเสียตังค์คนทั่วไปก็ฝากความรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองไว้กับหมอและโรงพยาบาลมีเงินมากเท่าไรจึงจะพอให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นดีแต่ไม่ควรลืมเรื่องการพึ่ง ตนเองสนับสนุนยาไทยและสมุนไพรในชุมชน มิเช่นนั้น รักษาฟรีแต่รัฐบาลจ่ายเงินซื้อยาจากต่างประเทศ เงินทองไหลออกนอกหมด เราต้องมาช่วยกันสร้างสุขภาพด้วยยาไทย สมุนไพรของเรา เงินทองหมุนเวียนในประเทศนะจ๊ะ.

ข้อมูลจาก : มูลนิธิสุขภาพไทย   


อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร พืชสมุนไพรที่หมอยาทุกภาคต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะเป็นสมุนไพรที่ช่วย รักษาอาการเบื้องต้นของริดสีดวงทวารได้  อัคคีทวารนั้นยังมีชื่อให้เรียกได้หลายชื่อด้วยกันเช่น ตรีชวา ตั่งต่อ พรายสะเลียงและหลัวสามเกียน วันนี้  ได้นำความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของอัคคีทวารว่าใช้รักษาโรคอะไรได้บ้างมาฝากให้ทุกท่านอ่านกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ : อัคคีทวาร
ทั้งต้น – รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ผล – แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ
ราก – ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน
ใบ, ราก, ต้น – ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
1. นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง
2. นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน
3. ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

ใช้แก้เสียดท้อง
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง
- ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน

แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลำต้น ต้มรับประทาน

  

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ว่านมหากาฬ

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ว่านมหากาฬ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gynura pseudochina  (L.) DC.

วงศ์ :  Asteraceae  (Compositae)

  ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  หัว ใบสด
สรรพคุณ :

    หัว
    -  รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
    -  แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม

    ใบสด
    -  ขับระดู
    -  ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน มะยม

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

มะยม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry

วงศ์ :   Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ :

    ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

    ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

    รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี

    ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C

    ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

ประโยชน์ทางยา

ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิต
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส
ดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง

 ขนาดและวิธีใช้
1.    ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม
2.    เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม
3.    ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง
4.    เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม
5.    กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก
6.    แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ
7.    แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ
 ข้อควรระวัง
น้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน พิลังกาสา

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

พิลังกาสา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ardisia polycephala  Wall.

วงศ์ :   MYRSINACEAE

ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ

ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :

    ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม

    ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ

    เมล็ด -  แก้ลมพิษ

    ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู

    ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน

สารที่พบ :  α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding

พิลังกาสา
ชื่อสมุนไพร
พิลังกาสา
ชื่ออื่นๆ
ลังพิสา(ตราด) ทุลังกาสา รวมใหญ่ (ชุมพร)ตาปลา ราม จิงจำ จ้ำก้อง มาตาอาแย ปือนา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Myrsinaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร แต่อาจสูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านกลม หรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านสาขารอบๆต้นมาก ใบเป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบและขอบใบเรียบ แผ่นใบมีต่อม เห็นเป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วไป ใบหนามัน ก้านใบสั้น สีแดง เส้นใบมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน ดอกออก เป็นช่อจากซอกใบ และปลายกิ่ง ช่อละ 4-8 ดอก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู ก้านช่อดอกยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 8-15 มิลลิเมตร ติดกันที่โคนเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอก ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีแดง เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม เมล็ดเดี่ยว กลม พบตามป่าดงดิบเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

 
ลักษณะวิสัย
 
ใบ  ดอก  และ  ผล
 
ดอก
 
ผล
 
ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้

Herbarium specimen number : UBUPH00075  at  Herbarium of Ubonratchathanee University, Ubonratchathanee, Thailand

สรรพคุณ  
ตำรายาไทย  ใช้  ผล มีรสร้อน ฝาด  สุขุม มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง ใบ มีรสเฝื่อนร้อน แก้ตับพิการ แก้ปอดพิการ ดอก มีรสเฝื่อนขมเมา ฆ่าเชื้อโรค ราก มีรสเฝื่อนเมา  เปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้กามโรค แก้โรคหนองใน ตำกับสุราเอาน้ำรับประทาน เอากากตำพอกปิดแผล ถินพิษงู ตะขาบ แมงป่อง และแก้ลมเป็นพิษ ต้น มีรสเฝื่อนเมา ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นแก้โรคเรื้อน ฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน เหงือกปลาหมอ

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

เหงือกปลาหมอ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acanthus ebracteatus  Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.

ชื่อสามัญ :   Sea holly

วงศ์ :   ACANTHACEAE

ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ :  ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด

สรรพคุณ :

    ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

    ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

    ราก
    -  ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
    -  รักษามุตกิดระดูขาว

    เมล็ด
    - ปิดพอกฝี
    - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน เปล้าน้อย


กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

เปล้าน้อย

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton stellatopilosus  Ohba
ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz

วงศ์ :   EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ใบระบาด

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ใบระบาด



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer

ชื่อสามัญ :   Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose

วงศ์ :   Convolvulaceae

ชื่ออื่น :  ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด

สรรพคุณ :  ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
สารเคมี : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน

Friday, September 14, 2012

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน นางแย้ม

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

นางแย้ม

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อพ้อง :  Volkameria fragrans  Vent.

ชื่อสามัญ :   Glory Bower

วงศ์ :   Labiatae

ชื่ออื่น :  ปิ้งหอม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบ และราก

สรรพคุณ :

    ใบ  -   แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

    ราก
    -  ขับระดู ขับปัสสาวะ
    -  แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
    -  แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    -  แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
    -  แก้ริดสีดวง ดากโผล่
    -  แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
    -  แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ

ตำรับยา และวิธีใช้

    เหน็บชา ปวดขา
    ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
    ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
    ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่

    โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
    ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น

สารเคมีที่พบ :  มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin
      

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ทองพันชั่ง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ทองพันชั่ง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz

ชื่อสามัญ :   White crane flower

วงศ์ :    ACANTHACEAE

ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : 

    ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย 

    ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด

    ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ

    ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

      

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ขมิ้นชัน

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ขมิ้นชัน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma longa  L.

ชื่อสามัญ :   Turmaric

วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

สรรพคุณ :

    เป็นยาภายใน
    - แก้ท้องอืด
    - แก้ท้องร่วง
    - แก้โรคกระเพาะ

    เป็นยาภายนอก
    - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
    - ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

    เป็นยาภายใน
    เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

    เป็นยาภายนอก
    เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก

สารเคมี
          ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ข่า

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ข่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Alpinia  galanga   (L.) Willd.

ชื่อสามัญ :   Galanga

วงศ์ :   Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

สรรพคุณ :

    เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    แก้อาหารเป็นพิษ
    เป็นยาแก้ลมพิษ
    เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

        รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
        ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

        รักษาลมพิษ
        ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

        รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
        ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

    สารเคมี
               1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน กุ่มบก

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

กุ่มบก



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อสามัญ :  Sacred Barnar, Caper Tree

วงศ์ :  Capparaceae

ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

สรรพคุณ :

    ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

    เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

    กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

    แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

    ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

    เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด เสาวรส

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

เสาวรส

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Passiflora laurifolia  L.

ชื่อสามัญ :  Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla

วงศ์ :  Passifloraceae

ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด
         

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

คำฝอย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.

ชื่อสามัญ :  Safflower, False Saffron, Saffron Thistle

วงศ์ :  Compositae

ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

สรรพคุณ :

    ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
    - รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
    - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
    - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
    - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน

    เกสร
    - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี

    เมล็ด
    - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
    - ขับโลหิตประจำเดือน
    - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร

    น้ำมันจากเมล็ด
    - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ

    ดอกแก่
    - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
          ดอก  พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
         เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
         ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
         ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
         ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด กระเจี๊ยบแดง

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี๊ยบแดง

 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/images/hb_14.jpg

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ :  Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

    กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

    เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

    ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

    น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

    ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

    น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

    ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

    เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

    เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

    ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

    เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
          ดอก  พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
      

สรรพคุณสมุนไพร พืชสมุนไพร


        พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคล รอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

สมุนไพร

สมุนไพร

หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งหาได้ตามพื้นเมืองไม่ใช่เครื่องเทศ (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน : 2542)

ยาสมุนไพร

หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสมหรือแปรสภาพ (ตาม พรบ. ยา พ.ศ. 2510)


ยาไทย


หมายถึง ทั้งสมุนไพรและยาแผนโบราณ และหมายถึงลักษณะและวิธีการที่แผนแผนโบราณปรุงสำหรับคนไข้ และปรุงกันเองในหมู่ประชาชน

ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ระบุว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะประกอบไปด้วย ธาตุทั้ง 4

1.ธาตุ ดิน (ปถวีธาตุ) หมายถึง องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้าง ที่ทำให้ระบบคงรับอยู่ได้ หรือ อวัยวะที่ประกอบกันเป็นร่างกาย มี 20 อย่าง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นและเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า และมันในสมอง

2. ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกาย มี 12 ประเภท คือ น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น มันเหลว นำตา น้ำตา น้ำมูกน้ำลาย ไขข้อ น้ำปัสสาวะ

3. ธาตุลม (วาโยธาตุ) หมายถึง พลังในการขับดันภายในร่างกาย เช่น ลมในท้อง ลมจากปลายเท้าถึงศีรษะ

4. ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) หมายถึง พลังความร้อนที่สร้างความอบอุ่น ความร้อน และการเผาไหม้ในร่างกาย มี 4 ประการ ได้แก่
ไฟอุ่น (พลังงานจากการเผาผลาญอาหาร)
ไฟร้อน (สภาพจิตใจ , อารมณ์ด้านลบ)
ไฟเผาให้เสื่อมของเซลล์ตามอายุหรือเหตุอื่น
ไฟย่อยอาหาร (พลังงานที่ควบคุมการเผาผลาญ)

การเกิดโรค

เกิดจากการขาดความสมดุลของธาตุทั้ง 4 ความเจ็บป่วยจะเกิดจากความแปรปรวนของธาตุ จำแนกตามความผิดปกติเป็น 3 ระดับ
หย่อน = ลดลง น้องลง หดไป
กำเริบ = รุนแรง เพิ่มขึ้น
พิการ = การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติไปจากลักษณะเดิม

การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร


ใช้ประโยชน์ทางยา เป็นการนำสมุนไพรมาใช้ในการปรับสมดุลในร่างการ (ธาตุทั้ง 4) และการรักษาอาการเจ็บป่วย
รสและสรรพคุณ ของสมุนไพรที่นำมาใช้ทางยา จำแนกรสหลัก 6 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ขม
เผ็ดร้อน และฝาด

1.รสหวาน มีคุณสมบัติ เย็น หนัก ชุ่มชื้น ผลต่อร่างกายคือ หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ด้วยความหิวกระหาย เพิ่มทุนเนื้อเยื่อ

2.รสเปรี้ยว มีคุณสมบัติ ร้อน หนัก ชุ่มชื้น ผลต่อร่างกายคือ ทำให้กระตุ้นการขับถ่าย ลดอาการเกร็ง ช่วยเจริญอาหาร และการย่อยอาหาร

3.เค็ม มีคุณสมบัติ ร้อน หนัก ชุ่มชื้น ผลต่อร่างกายคือ กระตุ้นการขับถ่าย ชำระล้างภายในร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร เนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม ผ่อนคลาย

4.เผ็ดร้อน มีคุณสมบัติ ร้อน เบา แห้ง ผลต่อร่างกายคือ ทำให้เมือกและเสมหะในร่างกายแห้ง

5.ขม มีคุณสมบัติ เย็น เบา แห้ง ผลต่อร่างกายคือ ลดไข้ ลดกำหนัด เมือกแห้ง

6.ฝาด มีคุณสมบัติ เย็น เบา แห้ง ผลต่อร่างกายคือ สมานแผนและเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ลดกำหนัด เมือกแห้ง