Sunday, March 17, 2013

อบเชยต้น (เชียด) กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

อบเชยต้น (เชียด)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

ชื่อสามัญ :   Cinnamon

วงศ์ :   Lauraceae

ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง)  ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น  ใบและเปลือกหอม   ใบ เดี่ยว  เรียงตรงข้าม  เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม   ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง  สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน  เหม็น  กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ  คล้ายกลีบเลี้ยง   กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ  แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใบ

สรรพคุณและวิธีใช้

    เปลือก
    - หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม 
    - เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
    - ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต

    ใบ - เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ

    รากกับใบ - ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ

      

อบเชยเทศ กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

อบเชยเทศ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum verum  J.Presl

ชื่อสามัญ :   Cinnamon Tree

วงศ์ :   Lauraceae

ชื่ออื่น :  -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบสามเส้น ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ

สรรพคุณ :

    เปลือกต้น
    - ใช้บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง 
    - ใช้ขับลม บำรุงธาตุ
    - บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร
    - ใส่เครื่องสำอาง
    - ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน และจุกเสียด

    ใบ
    - มีน้ำมัน ใช้แต่งกลิ่น
    - ฆ่าเชื้อ

โหระพา กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

โหระพา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum basilicum  L.

ชื่อสามัญ :   Sweet Basil

วงศ์ :   Labiatae

ชื่ออื่น :  ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

    ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

    เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

    ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :

    ทั้งต้น
    - รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
    - แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร
    - จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
    -  ประจำเดือนผิดปกติ
    - ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
    -  ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง

    เมล็ด
    - รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
    - ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
    - ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)

    ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง

วิธีและปริมาณที่ใช้

    ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา

    เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา

    ราก - เผา เป็นเถ้าพอก

    ใบ
    - ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
    - ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน

สารเคมี
          น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol

ว่านน้ำ กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ว่านน้ำ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Acorus calamus  L.

ชื่อสามัญ :   Mytle Grass, Sweet Flag

วงศ์ :   Araceae

ชื่ออื่น :  คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี)  ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ว่านน้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ
ส่วนที่ใช่ :  ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้น

สรรพคุณ :

    ราก
    -  รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี
    -  ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้อย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี ชาวอินเดียใช้ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและเจ็บคอ และใช้ปรุงกับยาระบายเพื่อเป็นยาธาตุด้วยในตัว
    -  เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน
    -  เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้ Hysteria และ Neuralgia แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง

    เหง้า - ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม

    น้ำมันหอมระเหยจากต้น - แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    บำรุงธาตุ - ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ

    แก้ปวดท้องและจุกแน่น -ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซีซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

    เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด - ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก

    เป็นยาแก้ไอ -  ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ

    เป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก - ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง

    เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร - ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน 10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4 กรัม

สารเคมี :  มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil)  2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene  เช่น  asarone, Betasalone (มี 70-80 %)  และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin
      

เร่ว กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

เร่ว




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amomum xanthioides  Wall.

ชื่อสามัญ :  Bustard cardamom, Tavoy cardamom

วงศ์ :   Zingiberaceae

ชื่ออื่น :   หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป
ส่วนที่ใช้ :  เมล็ดจากผลที่แก่จัด ราก ต้น ใบ ดอก ผล

สรรพคุณ :

    เมล็ดจากผลที่แก่จัด
    -  เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    -  แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร

    ราก - แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม

    ต้น - แก้คลื่นเหียน อาเจียน

    ใบ - ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ

    ดอก - แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย

    ผล- รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง

วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด
    โดยนำเมล็ดในของผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

    ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้เมล็ด

สารเคมี - Essential Oil น้ำมันหอมระเหยจากผล P-Methyloxy- trans ethylcinnamate
      

มะรุม กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

มะรุม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

ชื่อสามัญ :  Horse radish tree, Drumstick

วงศ์ :   Moringaceae

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก

สรรพคุณ :

    ฝัก  -  ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

    ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
          - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
    แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

ไพล กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ไพล



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.

ชื่อพ้อง :   Z.purpureum  Roscoe

วงศ์ :   Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม
ส่วนที่ใช้ :  เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

สรรพคุณ :

    เหง้า
    -  เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
    - เป็นยารักษาหืด
    - เป็นยากันเล็บถอด
    - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด

    น้ำคั้นจากเหง้า -  รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย

    หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน

    ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย

    ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ

    ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย

วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

    รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
    ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

    แก้บิด ท้องเสีย
    ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

    เป็นยารักษาหืด
    ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    เป็นยาแก้เล็บถอด
    ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

    ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
    ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils

พริกไทย กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

พริกไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper nigrum  L.

ชื่อสามัญ :   Black Pepper

วงศ์ :   Piperaceae

ชื่ออื่น :  พริกน้อย (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก

สรรพคุณ :

    ใบ  -   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ

    ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

    เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ  อาหารไม่ย่อย

    ดอก -  แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :  ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง
สารเคมี :  มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11%  คาร์โบไฮเดรต 65%

เทพธาโร กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

เทพธาโร

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.

วงศ์ :   Lauraceae

ชื่ออื่น :  จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี) การบูร (หนองคาย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น สูง 10 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ดอก สีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว
ส่วนที่ใช้ :  ใบ เปลือก ต้น

สรรพคุณ :

    ใบ  -   รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ

    เปลือก  -  รสร้อน มีน้ำมันระเหย 1-25 % และแทนนิน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงธาตุ

วิธีการใช้ : เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการะบูน อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกมาจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมี ให้เป็นการะบูนได้ ใบมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศตามร้านขายยาสมุนไพรในประเทศไทย ใช้ใบนี้เป็นใบกระวานสำหรับใส่เครื่องแกงมัสหมั่น ทุกร้านถ้าเราไปขอซื้อใบกระวานจะได้ใบไม้นี้ ส่วนใบกระวานจริงๆ เราไม่ได้ใช้กัน (ใบกระวานจริงๆ ลักษณะเหมือนใบข่า)

ดีปลี กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ดีปลี

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper retrofractum  Vahl

ชื่อสามัญ :   long pepper

วงศ์ :    Piperaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง

สรรพคุณ :

    ราก  -   แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้  แก้คุดทะราด

    เถา -  แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต

    ใบ - แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น

    ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด

    ผลแก่จัด - รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ  ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ใช้เป็นยาขับลม แต่ไม่นิยมใช้ โดยมากนำมาเป็นเครื่องเทศ)

วิธีและปริมาณที่ใช้

    อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
    โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้

    อาการไอ และขับเสมหะ
    ใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

    ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม

สารเคมีที่พบ
        มีน้ำมันหอมระเหย และแอลคาลอยด์ ชื่อ P-Methoxy acetophenone, Dihydrocarveol, Piperine, Pipelatine Piperlongumine, Sylvatine และ Pyridine alkaloids อื่นๆ

กุ่มน้ำ กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กุ่มน้ำ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Crataeva magna (Lour.) DC.

วงศ์ :   CAPPARACEAE

ชื่ออื่น :  กุ่มน้ำ (ภาคกลาง), รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่, ภาคเหนือ), เหาะเถาะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), อำเภอ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้, สุพรรณบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-20 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 4-14 ซม. หูใบเล็ก ร่วงง่าย ใบย่อยรูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 4.5-18 ซม. ปลายค่อยๆ เรียวแหลม ยาวประมาณ 2.5 ซม. โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 9-20 เส้น บางครั้งพบมีถึงข้างละ 22 เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ใบแห้งสีค่อนข้างแดง ใบย่อยไม่มีก้านหรือถ้ามียาวไม่เกิน 5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะถี่ ออกที่ยอด ช่อหนึ่งมีหลายดอก ก้านดอกยาว 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 2-4 มม. กลีบดอกสีขาว ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปค่อนข้างกลมหรือรูปรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 0.5-1.2 ซม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-25 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 3.5-6.5 ซม. อับเรณูยาว 2-3 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 3.5-8 ซม. รังไข่รูปรีหรือทรงกระบอก มี 1 ช่อง ผลสีนวล รูปรี กว้าง 1.5-4.5 ซม. ยาว 5-8 ซม. เปลือกผลมีนวล ก้านผลยาว 8-13 ซม. หนา 3-5 มม. มีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปเกือกม้า ขนาดกว้างและยาวเท่าๆ กันคือ 6-9 มม.

ส่วนที่ใช้: ใบ เปลือก กระพี้ แก่น ราก ดอก ผล

สรรพคุณ :

    ใบ  -   ขับเหงื่อ

    เปลือก  -  แก้สะอึก

    กระพี้ -  แก้ริดสีดวงทวาร

    แก่น -  แก้นิ่ว

    ราก -  ขับหนอง

    ดอก - แก้เจ็บตา และในลำคอ

    แก้ไข้

กระวาน กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กระวาน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amomum krervanh Pierre

ชื่อสามัญ :   Siam Cardamom, Best Cardamom, Clustered Cardamom, Camphor Seed

วงศ์ :    Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6-15 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอก 1-3 ดอก  ปลายกลีบเลี้ยงมี 3 หยัก  กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง  ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ :  ราก หัวและหน่อ  เปลือก แก่น กระพี้ ผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี (เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม)  เมล็ด

สรรพคุณ :

    ราก -  แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด

    หัวและหน่อ - ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง

    เปลือก - แก้ไข้ ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้อันเป็นอชินโรค และอชินธาตุ

    แก่น - ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ

    กระพี้ - รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต

    ใบ - แก้ลมสันนิบาต แก้สันนิบาตลูกนก ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ไข้เพื่อลม รักษาโรครำมะนาด แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม แก้จุกเสียด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ  แก้ไข้อันง่วงเหงา

    ผลแก่  - รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 5-9 เปอร์เซนต์ มีฤทธิ์ในการขับลม (Carminative) และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ขับโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต ผลแก่ของกระวานตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ

    เมล็ด - แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ

    เหง้าอ่อน - ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ผลกระวาน ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด
          ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล (0.6-2 กรัม) ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งเดียว
          ผลกระวาน ยังใช้ผสมยาถ่าย เช่น มะขามแขกเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
สารเคมี :  ในน้ำมันหอมระเหย กระวาน (Essential oil) พบสารเคมีคือ Borneol, Cineol, Camphor