Sunday, October 7, 2012

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน อัคคีทวาร


กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

อัคคีทวาร



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke

วงศ์ :   VERBENACEAE

ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก


สรรพคุณ :


          ทั้งต้น  - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง


 

      อัคคีทวารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrum serratum Moon. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE โดยอัคคีทวารจัดเป็นไม้พุ่ม ใบเรียว ปลายใบมนแหลม ขอบใบเป็นดอกออกเป็นช่อสีขาวสวยงามมาก จึงสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ ถ้าหากไม่คิดถึงชื่อที่ไม่ค่อยเป็นมงคลเท่าไรนัก นอกจากนี้อัคคีทวารยังสามารถนำส่วนต่างๆมาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่ปรากฏในตำราอายุรเวท ซึ่งประมาณว่ามนุษย์รู้จักใช้สมุนไพรชนิดนี้ ี้มาราวสามพันปีแล้ว อัคคีทวารเรียกชื่อเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ ภรางคิ (Bharangi)” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clerodendrum serratum (Linn.) อยู่ในวงศ์ Verbenacea สำหรับหมอยาพื้นบ้านอีสานก็รู้จักอัคคีทวารเป็นอย่างดีเช่นกัน คนแถวๆ จังหวัดสกลนคร เรียกว่า หมากดูกแฮ้ง ส่วนหมอยาพื้นบ้านแถบวาริชภูมิเรียกว่า “ พายสะเมา ” สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามโคกทั่วๆไปในพื้นดินที่ราบสูงของไทย ซึ่งคนอีสานจะนำช่อดอกมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุบหน่อไม้ หรือไม่ก็ปรุงเป็นหมกหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ทำสุกแล้วยังมีรสชาติเหมือนกินสดๆ แต่ถ้าไปแอ่วเหนือเดินชมงานพืชสวนโลกไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่ (เพราะยังไม่ได้ไปชม) ถ้าพบขอให้รู้ไวว่าคนเหนือเรียกว่า หลัวสามเกียน


 ถ้าใครอยากนำต้นนี้มาปลูก ก็รู้ไว้สักนิดว่าอัคคีทวารไม้พุ่มยืนต้น ขนาดเล็กสูง 2- 3 เมตร เปลือกลำต้น บางผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นตรงข้ามกันเป็นคู่แบบสลับ ใบเรียงรูปใบหอกกว้าง 4- 6 เซนติเมตร ยาว 15- 20 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดขอบใบหยักฟันเลื่อยด้วยลักษณะและความสวยงามของดอก ซึ่งนับได้ว่าอัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างดี และมีสรรพคุณทางยาอย่างดีด้วย

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่หมอยาทุกภาครู้จัก ใช้เป็นยาได้ทั้งรากและใบ ส่วนของ ราก มีรสขมเผ็ดร้อน นำมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาสุขภาพของเราได้หลายระบบในร่างกาย คือ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม รักษาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งในท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ริดสีดวงทวาร และการที่รากอัคคีทวารมีรสขมร้อน ทำให้อัคคีทวารมีสรรพคุณ ช่วยทำให้เสมหะแห้ง จึงช่วย ระบบทางเดินหายใจ ได้ดีด้วย เช่น แก้หอบหืด ไอ ริดสีดวงจมูก(อาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก) แพ้อากาศทั้งยังใช้ในการแก้ไข้ได้อีกด้วย
        การใช้รากเป็นยาจะใช้ทั้งการต้มกินหรือบดเป็นผง นอกจากนี้ยังใช้รากสดตำผสมกับขิงและลูกผักชีละลายน้ำรับประทานแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแห้งหรือลำต้นแห้งนิยมฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆเป็นยาเกลื้อนฝี หัวริดสีดวง ทางแผลบวมได้ดีอีกด้วย

        ส่วน ใบ ของอัคคีทวารมีฤทธิ์แก้อักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง วิธีใช้ เคี้ยวใบสดๆรับประทานเลย หรือนำใบของอัคคีทวารตากแห้ง บดเป็นผงรับประทานแก้ริดสีดวงทวาร
ก็ได้ และอาจใช้วิธีนำใบตากแห้งรมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบฝ่อหายได้ หรือสุมไฟรมแผลฝีก็ได้เช่นกัน และยังนำใบอัคคีทวารใช้ภายนอกรักษาโรคอื่นๆ เช่น ตำพอกรักษาโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน ดูดหนอง ใช้ตำพอกแก้ปวดขัดตามข้อ แก้ปวดหัวเรื้อรัง
        ใบ  ของอัคคีทวารยังมีสรรพคุณแก้จุกเสียดในท้องเช่นเดียวกับราก จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องอืดได้และยังใช้ใบสดโขลกเอาน้ำกินสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้ว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ
ด้วย ใบของอัคคีทวารยังนิยมต้มกับขิงกินแก้หลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ส่วน ลำต้น ของอัคคีทวาร
        นอกจากจะมีสรรพคุณคล้ายๆ ใบแล้ว ส่วนของเนื้อไม้มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ชาวบ้านจึงนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งต้มรับประทานขับปัสสาวะขับนิ่ว ลดความดัน แก้ปวดท้อง แก้ไข้ป่า

        ส่วน ผลสุกหรือดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆกลืนน้ำช่วยแก้คอเจ็บแก้ไออัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยงเช่น โค กระบือที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ก็นำอัคคีทวารกรอกให้สัตว์กิน เห็นได้ว่าอัคคีทวารมีประโยชน์ทางยามากมาย แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวารพบว่าอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮิสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ฆ่าเชื้อโรค ขับลม

        อัคคีทวาร ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว ทั้งๆที่เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย เป็นผัก เป็นยา เป็นไม้ประดับ และเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่ตัวหนึ่งที่หมอยาทุกภาคเคยใช้เป็นยา แต่พอมาถึงยุคยาฟรีไปโรงพยาบาลไม่ต้องเสียตังค์คนทั่วไปก็ฝากความรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองไว้กับหมอและโรงพยาบาลมีเงินมากเท่าไรจึงจะพอให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นดีแต่ไม่ควรลืมเรื่องการพึ่ง ตนเองสนับสนุนยาไทยและสมุนไพรในชุมชน มิเช่นนั้น รักษาฟรีแต่รัฐบาลจ่ายเงินซื้อยาจากต่างประเทศ เงินทองไหลออกนอกหมด เราต้องมาช่วยกันสร้างสุขภาพด้วยยาไทย สมุนไพรของเรา เงินทองหมุนเวียนในประเทศนะจ๊ะ.

ข้อมูลจาก : มูลนิธิสุขภาพไทย   


อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร พืชสมุนไพรที่หมอยาทุกภาคต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะเป็นสมุนไพรที่ช่วย รักษาอาการเบื้องต้นของริดสีดวงทวารได้  อัคคีทวารนั้นยังมีชื่อให้เรียกได้หลายชื่อด้วยกันเช่น ตรีชวา ตั่งต่อ พรายสะเลียงและหลัวสามเกียน วันนี้  ได้นำความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของอัคคีทวารว่าใช้รักษาโรคอะไรได้บ้างมาฝากให้ทุกท่านอ่านกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ : อัคคีทวาร
ทั้งต้น – รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ผล – แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ
ราก – ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน
ใบ, ราก, ต้น – ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
1. นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง
2. นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน
3. ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

ใช้แก้เสียดท้อง
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง
- ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน

แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลำต้น ต้มรับประทาน

  

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ว่านมหากาฬ

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ว่านมหากาฬ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gynura pseudochina  (L.) DC.

วงศ์ :  Asteraceae  (Compositae)

  ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  หัว ใบสด
สรรพคุณ :

    หัว
    -  รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
    -  แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม

    ใบสด
    -  ขับระดู
    -  ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน มะยม

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

มะยม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry

วงศ์ :   Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ :

    ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

    ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

    รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี

    ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C

    ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

ประโยชน์ทางยา

ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิต
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส
ดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง

 ขนาดและวิธีใช้
1.    ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม
2.    เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม
3.    ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง
4.    เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม
5.    กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก
6.    แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ
7.    แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ
 ข้อควรระวัง
น้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน พิลังกาสา

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

พิลังกาสา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ardisia polycephala  Wall.

วงศ์ :   MYRSINACEAE

ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ

ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :

    ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม

    ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ

    เมล็ด -  แก้ลมพิษ

    ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู

    ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน

สารที่พบ :  α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding

พิลังกาสา
ชื่อสมุนไพร
พิลังกาสา
ชื่ออื่นๆ
ลังพิสา(ตราด) ทุลังกาสา รวมใหญ่ (ชุมพร)ตาปลา ราม จิงจำ จ้ำก้อง มาตาอาแย ปือนา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Myrsinaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร แต่อาจสูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านกลม หรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านสาขารอบๆต้นมาก ใบเป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบและขอบใบเรียบ แผ่นใบมีต่อม เห็นเป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วไป ใบหนามัน ก้านใบสั้น สีแดง เส้นใบมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน ดอกออก เป็นช่อจากซอกใบ และปลายกิ่ง ช่อละ 4-8 ดอก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู ก้านช่อดอกยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 8-15 มิลลิเมตร ติดกันที่โคนเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอก ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีแดง เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม เมล็ดเดี่ยว กลม พบตามป่าดงดิบเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

 
ลักษณะวิสัย
 
ใบ  ดอก  และ  ผล
 
ดอก
 
ผล
 
ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้

Herbarium specimen number : UBUPH00075  at  Herbarium of Ubonratchathanee University, Ubonratchathanee, Thailand

สรรพคุณ  
ตำรายาไทย  ใช้  ผล มีรสร้อน ฝาด  สุขุม มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง ใบ มีรสเฝื่อนร้อน แก้ตับพิการ แก้ปอดพิการ ดอก มีรสเฝื่อนขมเมา ฆ่าเชื้อโรค ราก มีรสเฝื่อนเมา  เปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้กามโรค แก้โรคหนองใน ตำกับสุราเอาน้ำรับประทาน เอากากตำพอกปิดแผล ถินพิษงู ตะขาบ แมงป่อง และแก้ลมเป็นพิษ ต้น มีรสเฝื่อนเมา ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นแก้โรคเรื้อน ฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน เหงือกปลาหมอ

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

เหงือกปลาหมอ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acanthus ebracteatus  Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.

ชื่อสามัญ :   Sea holly

วงศ์ :   ACANTHACEAE

ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ :  ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด

สรรพคุณ :

    ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

    ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

    ราก
    -  ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
    -  รักษามุตกิดระดูขาว

    เมล็ด
    - ปิดพอกฝี
    - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน เปล้าน้อย


กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

เปล้าน้อย

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton stellatopilosus  Ohba
ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz

วงศ์ :   EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ใบระบาด

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ใบระบาด



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer

ชื่อสามัญ :   Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose

วงศ์ :   Convolvulaceae

ชื่ออื่น :  ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด

สรรพคุณ :  ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
สารเคมี : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน