Sunday, October 7, 2012

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน อัคคีทวาร


กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

อัคคีทวาร



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke

วงศ์ :   VERBENACEAE

ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก


สรรพคุณ :


          ทั้งต้น  - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง


 

      อัคคีทวารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrum serratum Moon. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE โดยอัคคีทวารจัดเป็นไม้พุ่ม ใบเรียว ปลายใบมนแหลม ขอบใบเป็นดอกออกเป็นช่อสีขาวสวยงามมาก จึงสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ ถ้าหากไม่คิดถึงชื่อที่ไม่ค่อยเป็นมงคลเท่าไรนัก นอกจากนี้อัคคีทวารยังสามารถนำส่วนต่างๆมาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่ปรากฏในตำราอายุรเวท ซึ่งประมาณว่ามนุษย์รู้จักใช้สมุนไพรชนิดนี้ ี้มาราวสามพันปีแล้ว อัคคีทวารเรียกชื่อเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ ภรางคิ (Bharangi)” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clerodendrum serratum (Linn.) อยู่ในวงศ์ Verbenacea สำหรับหมอยาพื้นบ้านอีสานก็รู้จักอัคคีทวารเป็นอย่างดีเช่นกัน คนแถวๆ จังหวัดสกลนคร เรียกว่า หมากดูกแฮ้ง ส่วนหมอยาพื้นบ้านแถบวาริชภูมิเรียกว่า “ พายสะเมา ” สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามโคกทั่วๆไปในพื้นดินที่ราบสูงของไทย ซึ่งคนอีสานจะนำช่อดอกมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุบหน่อไม้ หรือไม่ก็ปรุงเป็นหมกหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ทำสุกแล้วยังมีรสชาติเหมือนกินสดๆ แต่ถ้าไปแอ่วเหนือเดินชมงานพืชสวนโลกไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่ (เพราะยังไม่ได้ไปชม) ถ้าพบขอให้รู้ไวว่าคนเหนือเรียกว่า หลัวสามเกียน


 ถ้าใครอยากนำต้นนี้มาปลูก ก็รู้ไว้สักนิดว่าอัคคีทวารไม้พุ่มยืนต้น ขนาดเล็กสูง 2- 3 เมตร เปลือกลำต้น บางผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นตรงข้ามกันเป็นคู่แบบสลับ ใบเรียงรูปใบหอกกว้าง 4- 6 เซนติเมตร ยาว 15- 20 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดขอบใบหยักฟันเลื่อยด้วยลักษณะและความสวยงามของดอก ซึ่งนับได้ว่าอัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างดี และมีสรรพคุณทางยาอย่างดีด้วย

        อัคคีทวารเป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่หมอยาทุกภาครู้จัก ใช้เป็นยาได้ทั้งรากและใบ ส่วนของ ราก มีรสขมเผ็ดร้อน นำมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาสุขภาพของเราได้หลายระบบในร่างกาย คือ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม รักษาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งในท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ริดสีดวงทวาร และการที่รากอัคคีทวารมีรสขมร้อน ทำให้อัคคีทวารมีสรรพคุณ ช่วยทำให้เสมหะแห้ง จึงช่วย ระบบทางเดินหายใจ ได้ดีด้วย เช่น แก้หอบหืด ไอ ริดสีดวงจมูก(อาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก) แพ้อากาศทั้งยังใช้ในการแก้ไข้ได้อีกด้วย
        การใช้รากเป็นยาจะใช้ทั้งการต้มกินหรือบดเป็นผง นอกจากนี้ยังใช้รากสดตำผสมกับขิงและลูกผักชีละลายน้ำรับประทานแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแห้งหรือลำต้นแห้งนิยมฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆเป็นยาเกลื้อนฝี หัวริดสีดวง ทางแผลบวมได้ดีอีกด้วย

        ส่วน ใบ ของอัคคีทวารมีฤทธิ์แก้อักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง วิธีใช้ เคี้ยวใบสดๆรับประทานเลย หรือนำใบของอัคคีทวารตากแห้ง บดเป็นผงรับประทานแก้ริดสีดวงทวาร
ก็ได้ และอาจใช้วิธีนำใบตากแห้งรมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบฝ่อหายได้ หรือสุมไฟรมแผลฝีก็ได้เช่นกัน และยังนำใบอัคคีทวารใช้ภายนอกรักษาโรคอื่นๆ เช่น ตำพอกรักษาโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน ดูดหนอง ใช้ตำพอกแก้ปวดขัดตามข้อ แก้ปวดหัวเรื้อรัง
        ใบ  ของอัคคีทวารยังมีสรรพคุณแก้จุกเสียดในท้องเช่นเดียวกับราก จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องอืดได้และยังใช้ใบสดโขลกเอาน้ำกินสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้ว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ
ด้วย ใบของอัคคีทวารยังนิยมต้มกับขิงกินแก้หลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ส่วน ลำต้น ของอัคคีทวาร
        นอกจากจะมีสรรพคุณคล้ายๆ ใบแล้ว ส่วนของเนื้อไม้มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ชาวบ้านจึงนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งต้มรับประทานขับปัสสาวะขับนิ่ว ลดความดัน แก้ปวดท้อง แก้ไข้ป่า

        ส่วน ผลสุกหรือดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆกลืนน้ำช่วยแก้คอเจ็บแก้ไออัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยงเช่น โค กระบือที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ก็นำอัคคีทวารกรอกให้สัตว์กิน เห็นได้ว่าอัคคีทวารมีประโยชน์ทางยามากมาย แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวารพบว่าอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮิสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ฆ่าเชื้อโรค ขับลม

        อัคคีทวาร ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว ทั้งๆที่เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย เป็นผัก เป็นยา เป็นไม้ประดับ และเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่ตัวหนึ่งที่หมอยาทุกภาคเคยใช้เป็นยา แต่พอมาถึงยุคยาฟรีไปโรงพยาบาลไม่ต้องเสียตังค์คนทั่วไปก็ฝากความรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองไว้กับหมอและโรงพยาบาลมีเงินมากเท่าไรจึงจะพอให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นดีแต่ไม่ควรลืมเรื่องการพึ่ง ตนเองสนับสนุนยาไทยและสมุนไพรในชุมชน มิเช่นนั้น รักษาฟรีแต่รัฐบาลจ่ายเงินซื้อยาจากต่างประเทศ เงินทองไหลออกนอกหมด เราต้องมาช่วยกันสร้างสุขภาพด้วยยาไทย สมุนไพรของเรา เงินทองหมุนเวียนในประเทศนะจ๊ะ.

ข้อมูลจาก : มูลนิธิสุขภาพไทย   


อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร พืชสมุนไพรที่หมอยาทุกภาคต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะเป็นสมุนไพรที่ช่วย รักษาอาการเบื้องต้นของริดสีดวงทวารได้  อัคคีทวารนั้นยังมีชื่อให้เรียกได้หลายชื่อด้วยกันเช่น ตรีชวา ตั่งต่อ พรายสะเลียงและหลัวสามเกียน วันนี้  ได้นำความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของอัคคีทวารว่าใช้รักษาโรคอะไรได้บ้างมาฝากให้ทุกท่านอ่านกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ : อัคคีทวาร
ทั้งต้น – รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ผล – แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ
ราก – ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน
ใบ, ราก, ต้น – ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
1. นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง
2. นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน
3. ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

ใช้แก้เสียดท้อง
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง
- ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน

แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลำต้น ต้มรับประทาน

  

0 comments:

Post a Comment