Thursday, January 3, 2013

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ มะขาม

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ มะขาม

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica  L.

ชื่อสามัญ :   Tamarind

วงศ์ :    Leguminosae - Caesalpinioideae

ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ :

    เมล็ดในที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงกะเทาะเปลือกออก)

    เนื้อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณ :

    เมล็ด  -   สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย

    ใบ -  ขับเสมหะ

    แก่น  -  ขับโลหิต

    เนื้อ -  เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ถ่ายพยาธิ
    ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม เคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว

    แก้ท้องผูก
    ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง

    แก้ไอ, ขับเสมหะ
    ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน

สารเคมี :
          - เนื้อในหุ้มเปลือก มี tartaric acid 8-18%  invert sugar 30-40%
          - เมล็ด  มี albuminold  14-20% carbohydrate 59-65%  semi-drying fixed oil 3.9-20%  mucilaginous materal 60%
      

0 comments:

Post a Comment